ที่ตั้ง |
|||
ตำบลหนองผักนากอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสามชุกไปทางทิศตะวันตก 9 กิโลเมตร สามารถเดินทางติดต่อได้โดยถนนสายสามชุก – หนองหญ้าไซ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3365 |
|||
อาณาเขตติดต่อ |
|||
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลกระเสียว |
อำเภอสามชุก |
|
ติดต่อกับ |
ตำบลสามชุก |
อำเภอสามชุก |
|
ติดต่อกับ |
ตำบลหนองสะเดา |
อำเภอสามชุก |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลบ้านสระ |
อำเภอสามชุก |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลสามชุก |
อำเภอสามชุก |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลหนองหญ้าไซ |
อำเภอหนองหญ้าไซ |
|
ติดต่อกับ |
ตำบลหนองราชวัตร |
อำเภอหนองหญ้าไซ |
เนื้อที่ |
|||
ตำบลหนองผักนาก มีเนื้อที่ทั้งหมดจำนวนประมาณ 60.55 ตารางกิโลเมตร หรือมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 37,843 ไร่ 75 งาน |
|||
ภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศ |
|||
ตำบลหนองผักนาก มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูก สภาพพื้นที่เป็นดินเหนียวปนทราย มีพื้นที่เป็นที่ดอนบ้างบางส่วนมีแหล่งน้ำจากคลองชลประทานไหลผ่านตลอดพื้นที่ลักษณะภูมิอากาศทั่วไป อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีสภาพอากาศเหมาะสำหรับการเพาะปลูก ในฤดูฝนมีฝนตกชุก ฤดูร้อนอากาศร้อนอบอ้าว ฤดูหนาวอากาศจะอบอุ่นไม่หนาวจนเกินไป |
|||
จุดเด่นของพื้นที่ ( ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล ) |
|||
ตำบลหนองผักนาก มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีที่ดอนบ้างเป็นบางส่วน เหมาะแก่การปลูกพืช เช่น ข้าว อ้อย มะม่วง ฯลฯ มีถนนตัดผ่านหลายสาย ซึ่งเหมาะแก่การคมนาคมในการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรอย่างรวดเร็วมีคลองสายสำคัญ คือ คลองมะขามเฒ่า – อู่ทอง ตัดผ่านใจกลางตำบล ทำให้มีน้ำใช้ตลอดปี การพัฒนาตำบลที่สำคัญที่สุดต้องเน้นให้ราษฎรตระหนักถึงทรัพยากรธรรมชาติ และการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร |
|||
สภาพทางเศรษฐกิจด้านอาชีพ |
|||
ประชากรส่วนใหญ่ คือร้อยละ ๙๐ ของผู้มีงานทำจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมาเป็นอาชีพรับราชการ / พนักงานของรัฐ รับจ้าง และค้าขาย ตามลำดับ อาชีพที่ทำรายได้ให้กับประชากรภายในตำบลมากที่สุด คือ อาชีพเกษตรกรรม โดยพืชที่นิยมปลูก ได้แก่ ข้าว ไม้ผล เช่น มะม่วง,กล้วย,มะพร้าว ฯลฯ พืชไร่เช่น อ้อย,ข้าวโพด พืชผัก เช่น แตงกวา คะน้า,กวางตุ้ง, มะเขือ , ถั่วฝักยาว , พริก , ผักชี , ต้นหอม , บวบ ฯลฯ |
|||
ด้านการเลี้ยงสัตว์ |
|||
เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคภายในครอบครัว และนำบางส่วนมาจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริม |
|||
ด้านอุตสาหกรรม |
|||
ภายในตำบลมีโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงสีข้าว ,โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ อื่น ๆ |
|||
จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล) |
|||
ตำบลหนองผักนาก มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีที่ดอนบ้างเป็นบางส่วนเหมาะแก่การ ปลูกพืช เช่น ข้าว อ้อย มะม่วง ฯลฯ มีถนนตัดผ่านหลายสาย ซึ่งเหมาะแก่การคมนาคมในการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรอย่างรวดเร็วมีคลองสายสำคัญ คือ คลองมะขามเฒ่า – อู่ทอง ตัดผ่านใจกลางตำบลทำให้มีน้ำใช้ตลอดปี การพัฒนาตำบลที่สำคัญที่สุดต้องเน้นให้ราษฎรตระหนักถึงทรัพยากรธรรมชาติ และการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร |
|||
การบริการพื้นฐาน |
|||
1.การคมนาคม |
|||
การคมนาคมทางบกโดยรถยนต์ ทั้งภายในตำบลและระหว่างตำบล มีความสะดวกรวดเร็ว เนื่องจากได้มีโครงการปรับปรุงถนนในเขตตำบลอย่างต่อเนื่อง โดยมีเส้นทางที่สำคัญภายในตำบล ดังนี้– ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๖๕ (สายสามชุก – หนองหญ้าไซ)– ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๙๖ (สายคันคลองมะขามเฒ่า – อู่ทอง) |
|||
2. การไฟฟ้า |
|||
– ไฟฟ้าเข้าถึงครบทั้ง 8 หมู่บ้าน– อัตราการใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 100 |
|||
3. แหล่งน้ำธรรมชาติ / แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น |
|||
– ลำน้ำ , ลำห้วย 8 สาย– บึง , หนอง และอื่นๆ 13 สาย– ฝาย 1 แห่ง– บ่อโยก 10 แห่ง– ประปาหมู่บ้าน 8 แห่ง |
|||
ข้อมูลอื่นๆ |
|||
การรวมกลุ่มของประชาชน– กลุ่มอาชีพ 5 กลุ่ม– กลุ่มออมทรัพย์ 2 กลุ่ม– กลุ่มอื่นๆ 1 กลุ่มมวลชนจัดตั้ง– ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น– ตำรวจชุมชน 1 รุ่น– อตส. 1 รุ่น– อปพร. 2 รุ่น |
|||
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล |
|||
จำนวนบุคลากร |
|||
1. พนักงานส่วนตำบล จำนวน 16 คน– ตำแหน่งในสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 5 คน– ตำแหน่งในกองคลัง 4 คน– ตำแหน่งในกองช่าง 2 คน– ตำแหน่งในส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม – คน– ตำแหน่งในส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3 คน2. ลูกจ้างประจำและพนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 11 คน– พนักงานจ้างตามภารกิจ 5 คน– พนักงานจ้างทั่วไป 6 คน3. คณะผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 19 คน– คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล 4 คน– สภาองค์การบริหารส่วนตำบล 15 คน |
|||
ระดับการศึกษาของบุคลากร |
|||
1. พนักงานส่วนตำบล จำนวน 16 คน– ประถมศึกษา – คน– มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา 1 คน– ปริญญาตรี 9 คน– สูงกว่าปริญญาตรี 6 คน2. พนักงานจ้าง จำนวน 11 คน– ประถมศึกษา 2 คน– มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา 5 คน– ปริญญาตรี 4 คน3. คณะผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 20 คน– ประถมศึกษา 8 คน– มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา 8 คน– ปริญญาตรี 4 คน– สูงกว่าปริญญาตรี – คน(ข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2559) |
|||
เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ |
|||
งานไฟฟ้า– รถยนต์กระเช้าไฟฟ้า จำนวน 1 คันงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย– รถยนต์บรรทุกน้ำดับเพลิง จำนวน – คัน– รถยนต์ อปพร. จำนวน 1 คัน– เรือไฟเบอร์ พลาสติก จำนวน 3 ลำ– เครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่อง– เครื่องดับเพลิง จำนวน 2 เครื่องงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม– รถยนต์บรรทุกขยะ จำนวน 1 คัน– รถยนต์ดูดสิ่งปฏิกูล จำนวน – คัน– รถรับส่งพยาบาล จำนวน – คัน– เครื่องพ่นหมอกควัน จำนวน 1 เครื่อง– เครื่องตัดหญ้า จำนวน 3 เครื่องงานสำนักงาน– รถยนต์ส่วนกลาง จำนวน 1 คัน– เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 15 เครื่อง– เครื่องพิมพ์ดีด จำนวน 3 เครื่อง – เครื่องถ่ายเอกสาร จำนวน 2 เครื่อง
|
|||
การคลังท้องถิ่น |
|||
หรือท่านสามารถโหลดโดยคลิ้กที่ Download |